วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
1) การวิเคราะห์หลักสูตร
เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา เราจะต้องศึกษาหลักสูตรแกนกลางว่าในหลักสูตรต้องการอะไร จุดมุ่งหมายคืออะไรแล้วเอามาปรับใช้ในการเขียนแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสาระการเรียน เนื้อหา และกับตัวผู้เรียนดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน
   เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน จะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเพราะแต่ละคนมีลักษระไม่เหมือนกันและ เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการใช้เทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและมีความรับผิดชอบ  
 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ครูสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ หรือให้   ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น ให้วาดภาพแสดงรายละเอียดที่เรียนรู้จากการอ่านบทประพันธ์ในวิชาวรรณคดี เมื่อครูได้สอนให้เข้าใจโดยการตีความและแปลความแล้ว หรือในวิชาที่มีเนื้อหาของการปฏิบัติ เมื่อผ่านกิจกรรม การเรียนรู้แล้ว ครูควรให้ผู้เรียนได้ฝึกให้ทำงาน ปฏิบัติซ้ำอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญ
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
การ เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร และยังมีการนำสื่อที่ทันสมัยมาใช้เช่นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ของเด็กให้เกิดการคิด การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์ของสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวผู้เรียน
5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
    เป็นการประเมินผลผู้เรียนในทุกๆด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน
 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
 ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้ง
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน

มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและหรือ
พัฒนาผู้เรียนอย่างน้อยปีละ 1 รายการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนสอน ผลจากการวิจัยในชั้นเรียน ช่วยแก้ปัญหาปรับพฤติกรรมและหรือยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้งานวิจัยในชั้นเรียนได้รับการยอมรับและมีการขยายผล
การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(พร้อมยกตัวอย่างการออกแบบการจัดการเรียนรู้ )
                                   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบบูรณาการ วิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เรื่อง วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม 
    การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ   
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5เรื่อง  วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม      เวลา  2  ชั่วโมง
1.  สาระการสำคัญ
 
วิกฤตการณ์สำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันนี้มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และในอนาคตจะกลายเป็นปัญหาระดับโลก ทั้งนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนประชากรของโลก ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรวมไปถึงภัยธรรมชาติและอุบัติภัย
2.  คุณลักษณะที่พึงประสงค์
 
มีทักษะในการใช้ความคิดวิเคราะห์
3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
1. 
เข้าใจและอธิบายถึงที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมได้
2. 
วิเคราะห์ถึงที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมได้
4.  สาระการเรียนรู้
 1.
ความหมายของวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม
2.
ที่มาวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
       2.1 
การเพิ่มของประชากร
  2.2 
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2.3 
ภัยธรรมชาติและอุบัติภัย
5.  กระบวนการจัดการเรียนรู้
 1.  ครูแจงทำความเข้าใจและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้เรื่องวิกฤตการณ์ด้าน
    
สิ่งแวดล้อมให้นักเรียนทราบถึงขอบเขตเนื้อหาวิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดผล 
    
ประเมินผล เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ตรงกัน พร้อมทั้งชี้แจง
 
    
วัตถุประสงค์ของการทดสอบวัดพื้นฐานระดับทักษะความคิดวิเคราะห์ของ

     
นักเรียนก่อน

2. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบและจดบันทึกลงสมุดใช้เวลา 5 
   
นาที

3.นำเข้าสู่บทเรียนโดยตั้งคำถามขั้นวิเคราะห์เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด
   
วิเคราะห์ในการตอบคำถามใช้เวลา  10  นาที  ได้แก่
-
ในความคิดของนักเรียน วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมคืออะไร
-
วิกฤตการณ์นั้นเกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด
-
นักเรียนได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่เพราะเหตุใด
4.แจ้งและทำความเข้าใจให้นักเรียนทราบถึงกิจกรรมที่จะทำแล้วแบ่งกลุ่ม
   
นักเรียนโดยการจับฉลากกลุ่มละ  5  คน  เพื่อศึกษาใบความรู้และทำกิจกรรมใน 
   
ใบงานเรื่อง  ที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม  ใช้เวลา  20  นาที  ครูและ

   
นักเรียนร่วมกันสรุปสาระและประเด็นสำคัญบันทึกลงสมุด

5.นักเรียนทุกคนทำแบบฝึกเรื่องที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม  ใช้เวลา  25 
    
นาที แล้วส่งแบบฝึกเพื่อประเมินผล

6.สื่อและแหล่งเรียนรู้

1.  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
 2. 
แบบฝึกกิจกรรมเรื่อง  วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม


7.  การวัดผลประเมินผล
 1. 
วัดตามจุดประสงค์ข้อ 1 และ 2
 2. 
เครื่องมือวัดผลและประเมินผล

  2.1  
ใบงานเรื่องที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
  2.2   
แบบฝึกเรื่องที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
 3. 
วิธีวัดและประเมินผล
  3.1   
การซักถามและการตอบคำถามของนักเรียน
  3.2   
การทำกิจกรรมตามใบงาน
  3.4  
การทำกิจกรรมในแบบฝึก
 4. 
เกณฑ์การประเมินผล  นักเรียนที่ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70%
 










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น