วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13

คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ          1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสมค่ะ    เช่น พฤติกรรมการบริโภคเพราะการบริโภคของมนุษย์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเนื่องจากในอดีตเป็นการบริโภคอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อความอยู่รอดหรือประทังชีวิตไปเป็นการบริโภคแบบตามความชอบของตัวเองตามกำลังทรัพย์หรือฐานะเพราะมีอาหารให้เลือกมากขึ้นมีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารของประเทศในปัจจุบันมีการขยายตัวพื่อนผลิตอารหารตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ส่วนทางด้านสุขภาพ ก็มีความไม่เหมาะสมบ้าง เช่น
1.อาหาร
2.หลีกเลี่ยงการออกแรง
3.ขาดการออกกำลังกาย
4.ความเครียด
5.การควบคุมอารมณ์
6.สิ่งแวดล้อมในการทำงาน
7.สิ่งแวดล้อมที่บ้าน
8.การพักผ่อน
 2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก         กำลังกายไหม)
    มีน้อยมากค่ะ
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) 
มีน้อยค่ะ เพราะว่าเด็กไทยควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้แต่เราก็ควรบอกเขาว่าเขาควรพยายามปรับอารมณ์ไปในทางที่ดีรู้จักการยอมรับกับในสิ่งที่เกิดขึ้น
การพัฒนาบุคลิกภาพ

มีค่ะเช่น
1.มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ดี
2. มีความสามารถในการทำงานที่อำนวยประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้
3. มีความรัก และความผูกพันต่อผู้อื่น
4. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาทางการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น

4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
มีค่ะเพราะว่า
 6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้น เด็กจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาเต็ม
ตามศักยภาพตั้งแต่แรกเกิด การที่เด็กจะสามารถพัฒนาเด็กตามศักยภาพได้นั้น เด็กจะต้องได้รับการพัฒนา
อย่างเป็นองค์รวม หมายความว่า เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ กาย ใจ จิต อารมณ์ สังคม
สติปัญญาและจริยธรรมและเด็กยังมีสิทธิในการที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง
เป็นสิทธิที่เด็กจะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกทาร้าย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ
หรือทางเพศทางแรงงาน การทารุณ โหดร้าย มีส่วนร่วมในสงคราม ภาวะยากลาบาก และรวมไปถึงสิทธิใน
ครอบครัว สิทธิในการมีชื่อและสัญชาติของตนเอง
  5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
   ทำความรู้จักกับนักเรียนเรื่อยๆๆจนรู้จักนักเรียนหมดทุกคน

1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2.
การคัดกรองนักเรียน
3.
การส่งเสริมนักเรียน
4.
การป้องกันและแก้ไขปัญหา
5.
การส่งต่อ
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)  มีค่ะ เช่นการ
๑. การควบคุมตนเอง
๒. ความเห็นใจผู้อื่น
๓. ความรับผิดชอบ
๔. การมีแรงจูงใจ
๕. การตัดสินใจแก้ปัญหา
๖. สัมพันธภาพกับผู้อื่น
๗. ความภูมิใจในตนเอง
๘. ความพอใจในชีวิต
๙. ความสุขสงบทางใจ
 8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
มีมากค่ะ
  9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
มีค่ะเป็นส่วนมาก

กิจกรรมที่12

กิจกรรมที่ได้ทำคือสอบสัมภาษณ์น้องโปรแกรมสังคมศึกษามีน้องๆๆมาสมัครประมาณ120คนรับเพียง80คนจากการที่ดิฉันได้สัมภาษณ์ว่าทำไมน้องๆๆจึงมาเรียนเอกสังคมศึกษา
1.นางสาว  จุไรรัตน์  ฝอยทอง  โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์
ความรู้สึก 1. เพราะวิชาสังคมเป็นวิชาพื้นฐานของทุกๆวิชาและวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาพื้นฐานของการ  ใช้ชีวิตในประจำวัน
                     2.วิชาประวัติศาตร์เพราะประวัติศาตร์ทำให้มีปัจจุบัน
2.นาย แมนสรวง  เม่น การศึกษานอกโรงเรียนปากพนัง
                 1.เพราะคิดว่าเป็นวิชาที่สามารถทำได้ดีที่สุด
                 2.เพราะสิ่งรอบตัวเราทั้งอดีตและปัจจุบันล้วนเกี่ยวกับสังคมทั้งสิ้น
3.นาย ทศวรรษ  แถมเดช โรงเรียนปากพนัง
               1.เพราะเป็นวิชาที่ผมเรียนมาตอนสมัยมัธยม
               2.วิชาภูมิศาตร์เพราะอยู่รอบตัวเราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
4.นาย ชลนที  เสือด้วง โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช
               1. เพราะวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาที่สำคัญกับชีวิตไม่ว่าจะเป็นประวัติศาตร์ประวัติศาตร์ที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบันแล้วอีกอย่างปัจจุบันนี้อาเซียนจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพราะฉะนั้นผมคิดว่าเป็นวิชาสังคมเป็นวิชาที่สำคัญในการใช้ชีวิต
               2.ประวัติศาตร์เพราะผมศึกษาถึงเรื่องที่สำคัญๆที่เกิดขึ้นอดีตเช่น สงครามเย็น
5.นายจักรกริช  สินซัง  โรงเรียนรัษฎา  ตรัง
              1.เพราะวิชาที่ชอบมากและวิชาในฝัน
              2.เพราะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
1) การวิเคราะห์หลักสูตร
เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา เราจะต้องศึกษาหลักสูตรแกนกลางว่าในหลักสูตรต้องการอะไร จุดมุ่งหมายคืออะไรแล้วเอามาปรับใช้ในการเขียนแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสาระการเรียน เนื้อหา และกับตัวผู้เรียนดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน
   เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน จะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเพราะแต่ละคนมีลักษระไม่เหมือนกันและ เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการใช้เทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและมีความรับผิดชอบ  
 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ครูสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ หรือให้   ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น ให้วาดภาพแสดงรายละเอียดที่เรียนรู้จากการอ่านบทประพันธ์ในวิชาวรรณคดี เมื่อครูได้สอนให้เข้าใจโดยการตีความและแปลความแล้ว หรือในวิชาที่มีเนื้อหาของการปฏิบัติ เมื่อผ่านกิจกรรม การเรียนรู้แล้ว ครูควรให้ผู้เรียนได้ฝึกให้ทำงาน ปฏิบัติซ้ำอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญ
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
การ เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร และยังมีการนำสื่อที่ทันสมัยมาใช้เช่นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ของเด็กให้เกิดการคิด การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์ของสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวผู้เรียน
5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
    เป็นการประเมินผลผู้เรียนในทุกๆด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน
 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
 ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้ง
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน

มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและหรือ
พัฒนาผู้เรียนอย่างน้อยปีละ 1 รายการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนสอน ผลจากการวิจัยในชั้นเรียน ช่วยแก้ปัญหาปรับพฤติกรรมและหรือยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้งานวิจัยในชั้นเรียนได้รับการยอมรับและมีการขยายผล
การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(พร้อมยกตัวอย่างการออกแบบการจัดการเรียนรู้ )
                                   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบบูรณาการ วิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เรื่อง วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม 
    การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ   
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5เรื่อง  วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม      เวลา  2  ชั่วโมง
1.  สาระการสำคัญ
 
วิกฤตการณ์สำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันนี้มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และในอนาคตจะกลายเป็นปัญหาระดับโลก ทั้งนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนประชากรของโลก ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรวมไปถึงภัยธรรมชาติและอุบัติภัย
2.  คุณลักษณะที่พึงประสงค์
 
มีทักษะในการใช้ความคิดวิเคราะห์
3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
1. 
เข้าใจและอธิบายถึงที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมได้
2. 
วิเคราะห์ถึงที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมได้
4.  สาระการเรียนรู้
 1.
ความหมายของวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม
2.
ที่มาวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
       2.1 
การเพิ่มของประชากร
  2.2 
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2.3 
ภัยธรรมชาติและอุบัติภัย
5.  กระบวนการจัดการเรียนรู้
 1.  ครูแจงทำความเข้าใจและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้เรื่องวิกฤตการณ์ด้าน
    
สิ่งแวดล้อมให้นักเรียนทราบถึงขอบเขตเนื้อหาวิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดผล 
    
ประเมินผล เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ตรงกัน พร้อมทั้งชี้แจง
 
    
วัตถุประสงค์ของการทดสอบวัดพื้นฐานระดับทักษะความคิดวิเคราะห์ของ

     
นักเรียนก่อน

2. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบและจดบันทึกลงสมุดใช้เวลา 5 
   
นาที

3.นำเข้าสู่บทเรียนโดยตั้งคำถามขั้นวิเคราะห์เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด
   
วิเคราะห์ในการตอบคำถามใช้เวลา  10  นาที  ได้แก่
-
ในความคิดของนักเรียน วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมคืออะไร
-
วิกฤตการณ์นั้นเกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด
-
นักเรียนได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่เพราะเหตุใด
4.แจ้งและทำความเข้าใจให้นักเรียนทราบถึงกิจกรรมที่จะทำแล้วแบ่งกลุ่ม
   
นักเรียนโดยการจับฉลากกลุ่มละ  5  คน  เพื่อศึกษาใบความรู้และทำกิจกรรมใน 
   
ใบงานเรื่อง  ที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม  ใช้เวลา  20  นาที  ครูและ

   
นักเรียนร่วมกันสรุปสาระและประเด็นสำคัญบันทึกลงสมุด

5.นักเรียนทุกคนทำแบบฝึกเรื่องที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม  ใช้เวลา  25 
    
นาที แล้วส่งแบบฝึกเพื่อประเมินผล

6.สื่อและแหล่งเรียนรู้

1.  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
 2. 
แบบฝึกกิจกรรมเรื่อง  วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม


7.  การวัดผลประเมินผล
 1. 
วัดตามจุดประสงค์ข้อ 1 และ 2
 2. 
เครื่องมือวัดผลและประเมินผล

  2.1  
ใบงานเรื่องที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
  2.2   
แบบฝึกเรื่องที่มาของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
 3. 
วิธีวัดและประเมินผล
  3.1   
การซักถามและการตอบคำถามของนักเรียน
  3.2   
การทำกิจกรรมตามใบงาน
  3.4  
การทำกิจกรรมในแบบฝึก
 4. 
เกณฑ์การประเมินผล  นักเรียนที่ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70%
 










กิจกรรมที่ 10

1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ  กลายเป็นปัญหาที่เรื้อรังกันมาหลายปีแล้ว สำหรับข้อพิพาทกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่ไทยและกัมพูชาต่างมีจุดยืนที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง และไม่มีทีท่าว่าจะตกลงกันได้ ยิ่งล่าสุด เมื่อกัมพูชาได้ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นโบราณสถานที่อยู่ในเขตประเทศตน งานนี้ก็เลยทำให้ข้อพิพาทนี้กลายเป็นประเด็นใหญ่โตขึ้นมาอย่างไม่มีข้อสงสัย และดูท่าว่าเรื่องนี้คงไม่จบกันได้ง่าย ๆ เมื่อไทยและกัมพูชาต่างอ้างอิงแผนที่คนละฉบับกันอยู่ และต่างฝ่ายต่างก็ยืนยันในจุดยืนของตัวเอง
ส่วนอีกฝ่าย คือ รัฐบาลไทย ก็ยังยืนยันจุดยืนเดิมว่าจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกบันทึกความเข้าใจการสำรวจ และการปักปันเขตแดนทางบกปี 2543 หรือ เอ็มโอยู แล้วไปยอมรับการแบ่งพื้นที่ตามแผนที่ที่กัมพูชาได้ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่ารัฐบาลไทยจะยึดหลักสันปันน้ำในการแบ่งพื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร และไม่ยอมรับการใช้พื้นที่ของกัมพูชาอย่างเด็ดขาด เพราะถือเป็นการรุกล้ำอธิปไตยของไทย ขณะเดียวกัน ก็ยังมีหลายหน่วยงานของไทยแสดงจุดยืนว่า รัฐบาลไม่ใช่เพียงคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเท่านั้น ต้องเรียกร้องยกเลิกบันทึกความเข้าใจการสำรวจและการปักปันเขตแดนทางบกปี 2543 แล้วขับไล่ทหารและชาวกัมพูชาออกจากพื้นที่ดังกล่าวให้หมด เพื่อรักษาผลประโยชน์และอธิปไตยของประเทศไว้
จากข้อขัดแย้งดังกล่าว ทำให้ทั้งไทยและกัมพูชาต่างเตรียมแถลงจุดยืนที่หนักแน่น ในการ
ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศบราซิลอย่างไรก็ดี นางไอรินา โบโกวา ผู้อำนวยการใหญ่แห่งยูเนสโก ได้เปิดเผยเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวว่า หัวใจสำคัญของภารกิจองค์กรยูเนสโก คือการคุ้มครองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติด้วยความสันติ ความเคารพ และปราศจากอคติ อยากให้มรดกโลกเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ การร่วมมือและปรองดองกัน
เริ่มจากฝ่ายกัมพูชา ที่พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกลงมติรับรองให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็มาถึงขั้นตอนการนำเสนอการจัดการพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารให้คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณากันแล้ว ในการประชุมเมื่อวันที่ 22-30 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่ประเทศสเปน ซึ่งหากการนำเสนอครั้งนี้ได้รับการลงมติรับรองจากคณะกรรมการมรดกโลก ก็จะทำให้ปราสาทเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์

กิจกรรมที่9

ได้ดูเกี่ยว กับการสอนประวัติศาสตร์ให้ผู้เรียนสนุกอยากจะเรียนนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะ สำหรับผู้เรียนที่ไม่มีพื้นความรู้หรือไม่ชอบวิชานี้เลย มักจะเห็นว่า วิชานี้เป็นวิชาที่น่าเบื่อหน่าย โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนแผนคณิต-วิทย์ ดังนั้นผู้สอนจะต้องหาเทคนิกในการถ่ายทอดความรู้ มากมายหลายอย่างเพื่อให้นักเรียนมีความสนใจ ที่จริงแล้ววิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี เพราะนิสัยพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนนั้นมักจะมีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องราวต่าง ๆ แต่นักเรียนสายคณิตย์ -วิทย์ มักจะมีความคิดว่า วิชาที่ควรจะให้ความสนใจนั้นอยู่ที่คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นความคิดที่แคบและเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก เพราะวิชาประวัติศาสตร์นั้นเป็นวิชาที่ศึกษาชีวิตและการกระทำของคนที่ส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นวิชาที่ทำให้เรานำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน