วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

ความหมายวัฒนธรรมองค์การ

           วัฒนธรรมองค์การคือ การสร้างของค่านิยมและความเชื่อซึ่งสมาชิกขององค์การหรือหน่วยงานให้ความสนใจของการดำรงอยู่ขององค์การ วัฒนธรรมองค์การแบบไหนที่มีอยู่ในองค์การที่สามารถจะค้นพบได้โดยการเรียนรู้ ตลอดจนรวมถึงตัวสัญลักษณ์และสถานภาพพิเศษของตัวองค์การ ผู้บริหารจักต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของปัจจัยทั้งหมดที่สามารถใช้ในการพัฒนาองค์การ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตั้งองค์การเป็นอย่างมาก
                วัฒนธรรมองค์การที่จะกล่าวถึงเป็นแบบแผนของความเชื่อ ค่านิยม ความคิด และการกระทำซึ่งมีการพัฒนาภายในองค์การและใช้เป็นสิ่งที่ช่วยแนะแนวทางพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การนั้นๆด้วย ถ้าเป็นในกลุ่มธุรกิจแบบนี้หมายถึง วัฒนธรรมบริษัท (Corporate culture) ในแต่ละองค์การจะมีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไปไม่มีทางเหมือนกันได้อย่างสมบูรณ์ ความแตกต่างของวัฒนธรรมองค์การสามารถที่จะมีผลกระทบเป็นอย่างมากกับผลการปฏิบัติงานขององค์การ และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน
วัฒนธรรมองค์การจะถูกพัฒนาขึ้นมาจากหลายแหล่ง เมื่อองค์การใหม่ถูกก่อตั้งขึ้นมา วัฒนธรรมมักจะถูกพัฒนาขึ้นมาที่สะท้อนให้เห็นถึงแรงจูงใจและจินตนาการของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ก่อตั้งมักจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อวัฒนธรรมที่ถูกพัฒนาขึ้น ตัวอย่างเช่น เรย์ ครอค ผู้ก่อตั้งแมคดดนัลด์ ได้ปลูกฝังค่านิยมร่วม คุณภาพ บริการ ความสะอาด และคุณค่า กับพนักงานแมคดดนัลด์ทุกคนไว้อย่างเข้มแข็งที่ยังคงเป็นความเชื่อของบริษัทอยู่ในปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมองค์การได้กลายเป็นคำที่นิยมแพร่หลายของการบริหารในปัจจุบัน เอ็ดการ์ ไชน์ นักวิชาการและที่ปรึกษาได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมองค์การว่า เป็นระบบความเชื่อและค่านิยมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาภายในองค์การและนำทางพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ วัฒนธรรมองค์การจะให้ความหมายและทิศทางที่สำคัญแก่พฤติกรรมประจำวันของสมาชิกภายในองค์การ และเป็นพลังเบื้องหลังที่จะกำหนดพฤติกรรม เสริมแรงความเชื่อร่วมกัน และกระตุ้นให้สมาชิกใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ
วัฒนธรรมองค์การตามความหมายนี้สามารถกลายเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญอย่างหนึ่งได้นั่นคือ ถ้าวัฒนธรรมองค์การองค์การสนับสนุนกลยุทธ์ และถ้าวัฒนธรรมองค์การสอดคล้องกับโอกาศภายในสภาพแวดล้อมขององค์การ
                ณ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด วัฒนธรรมองค์การจะเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญของบริษัทด้วยค่านิยมร่วมที่เข้มแข้งที่มีต่อการคิดค้นสิ่งใหม่ๆวัฒนธรรมจะถ่ายทอดความคาดหวังที่บุคคลจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี สายการบังคับบัญชาจะยึดกยุ่นที่จะสนับสนุนการคิดค้นสิ่งใหม่
ปัจจุบันนักวิชาการเองยังคงไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ว่าจะให้ความหมายของคำว่าวัฒนธรรมองค์การได้อย่างไร จึงจะทำให้เป็นที่ยอมรับและเห็นด้วยกันทุกฝ่าย แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถสรุปของวัฒนธรรมองค์การได้ว่า คือ การดำรงชีวิตในองค์การและวิถีชีวิตโดยรวมของคนในองค์การ ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับเอาไว้ให้พนักงานยึดถือเป็นหลักในการทำงานและการใช้ชีวิตอยู่ในองค์การ
    แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
      
สภาพแวดล้อมภายในองค์การจะมีพลังที่มีอำนาจอย่างหนึ่งคือ วัฒนธรรมองค์การ:ค่านิยามและบรรทัดฐานที่ยึดถือร่วมกันโดยสมาชิกชององค์การที่ได้กลายเป็นรากฐานของระบบการบริหารและวิธีการปฏิบัติของพนักงานและผู้บริหารภายในบริษัท  พลังนี้จะถูกเรียกวัฒนธรรมองค์การ ค่านิยมร่วมของวัฒนธรรมองค์การจะเรียกร้องความสนใจต่อสิ่งที่สำคัญ และระบุแผนของพฤติกรรมที่กลายเป็นบรรทัดฐานนำทางการกระทำสิ่งต่างๆภายในองค์การ
                วัฒนธรรมองค์การจะถูกหยั่งรากลึกในอดีตแต่จะจะถูกกระทบจากปัจจุบันและความคาดหวังในอนาคตแนวความคิดของวัฒนธรรมองค์การจะมีรากฐานมาจากมานุษวิทยา วัฒนธรรม วัฒนธรรมองค์การจะเป็นการสะสมของความเชื่อ ค่านิยม งานพิธี  เรื่องราว  ตำนาน และภาษาพิเศษ ที่กระตุ้นความรู้สึกความผูกพันภายในบรรดาสมาชิกขององค์การ บุคคลบางคนจะเรียกวัฒนธรรมองค์การว่าเป็น กาวทางสังคม ที่ผูกสมาชิกขององค์การเข้าด้วยกัน
 แนวทางพัฒนาองค์การ   
                   
วัฒนธรรมองค์การจะถูกพัฒนาขึ้นมาจากหลายแหล่ง เมื่อองค์การใหม่ถูกก่อตั้งขึ้นมา วัฒนธรรมมักจะถูกพัฒนาขึ้นมาที่สะท้อนให้เห็นถึงแรงจูงใจและจินตนาการของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ก่อตั้งมักจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อวัฒนธรรมที่ถูกพัฒนาขึ้น ตัวอย่างเช่น เรย์ ครอค ผู้ก่อตั้งแมคดดนัลด์ ได้ปลูกฝังค่านิยมร่วม คุณภาพ บริการ ความสะอาด และคุณค่า กับพนักงานแมคดดนัลด์ทุกคนไว้อย่างเข้มแข็งที่ยังคงเป็นความเชื่อของบริษัทอยู่ในปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมองค์การได้กลายเป็นคำที่นิยมแพร่หลายของการบริหารในปัจจุบัน เอ็ดการ์ ไชน์ นักวิชาการและที่ปรึกษาได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมองค์การว่า เป็นระบบความเชื่อและค่านิยมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาภายในองค์การและนำทางพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ วัฒนธรรมองค์การจะให้ความหมายและทิศทางที่สำคัญแก่พฤติกรรมประจำวันของสมาชิกภายในองค์การ และเป็นพลังเบื้องหลังที่จะกำหนดพฤติกรรม เสริมแรงความเชื่อร่วมกัน และกระตุ้นให้สมาชิกใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ
                วัฒนธรรมองค์การตามความหมายนี้สามารถกลายเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญอย่างหนึ่งได้นั่นคือ ถ้าวัฒนธรรมองค์การองค์การสนับสนุนกลยุทธ์ และถ้าวัฒนธรรมองค์การสอดคล้องกับโอกาศภายในสภาพแวดล้อมขององค์การ

กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
   
การกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์ (Formulate Strategic Values) ค่านิยมเชิงกลยุทธ์คือ ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การ ซึ่งเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ที่ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการกลั่นกรองของสิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์กลยุทธ์เพื่อประเมินทางด้านเศรษฐกิจประชากร นโยบายสาธารณะ เทคโนโลยีและสังคม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นตัวกำหนดความต้องการของตลาดที่องค์การสามารถที่จะเผชิญได้พัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรม (Develop Culture Values) คือค่านิยมที่พนักงานต้องการที่จะปฏิบัติเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินตามค่านิยมเชิงกลยุทธ์ได้ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อขององค์การที่ว่า องค์การสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างไร และเมื่อใดถ้าองค์การไม่พยายามที่จะพัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรมให้เชื่อมโยงกับการกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์ ก็จะเป็นการจบไปกับความว่างเปล่าของกลุ่มค่านิยม ดังนั้นพนักงานในองค์การจำเป็นที่จะต้องมีค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมในการทำงานที่มีความมั่นคง เพื่อเป็นการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนค่านิยม
เชิงกลยุทธ์ขององค์การ เช่นการผลิตที่ระดับต้นทุนที่ต่ำ การบริหารลูกค้า หรือวัฒนธรรมทางเทคโนโลยี
      
  
  แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้         
องค์กรเทคโนโลยีการศึกษาถือเป็นองค์กรรูปแบบหนึ่งที่มีการนำรูปแบบวัฒนธรรม
องค์การมาใช้ในหน่วยงาน ทำให้องค์กรเทคโนโลยีการศึกษามีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
ไม่แตกต่างจากองค์กรอื่น  ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมที่เหมาะสมกับองค์เทคโนโลยีการศึกษาก็คือวัฒนธรรมองค์การที่เน้นบทบาท เพราะวัฒนธรรมองค์การนี้ใช้กับราชการหรือหน่วยงานจะเน้นในระเบียบ คำสั่ง กฎระเบียบต่าง ๆ  การเชื่อฟัง ทำตามกฎระเบียบ และคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีความล่าช้าในการปรับเปลี่ยนตัวเอง แล้วก็จะเอาวัฒนธรรมแบบเครือญาติกับวัฒนธรรมแบบราชการมาผสมรวมให้เป็นวัฒนธรรมองค์การเทคโนโลยีได้อีกหนึ่งรูปแบบเพราะถ้าเอาแต่วัฒนธรรมแบบราชการมาอย่างเดียวอาจจะตึงเครียดไปจึงเอาวัฒนธรรมแบบเครือญาติมาด้วยเพราะบุคลากรในหน่วยงานต้องพบปะผู้คนมากอีกอย่างจะต้องทำงานกันเป็นทีมมีอะไรก็ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักกันเหมือนพี่น้อง  บุคลากรที่ทำงานในหน่วยนี้ต้องมีใจรักงานบริการการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ต่อผู้ร่วมและผู้มาขอบริการ  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร
  
ถ้ามีผู้บริหารที่ดีองค์กรเทคโนโลยีการศึกษาก็จะประสิทธิภาพในการทำงาน
วัฒนธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทัศนคติและประสิทธิผลโดยรวมของพนักงาน นอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมก็มีอิทธิพลหรือมีอำนาจเหนือองค์การ ไม่ว่าวัฒนธรรมองค์การนั้นจะอ่อนหรือแข้งแกร่งสักปานใดก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างภายในองค์การนับตั้งแต่การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง การตัดสินใน ตลอดจนการแต่งกาย การกีฬา การทำงาน เป็นต้น
อ้างอิงhttp://images.tidabadbad.multiply.multiplycontent.com

 

กิจกรรมที่ 7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ

  สรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร
        ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              การจัดการชั้นเรียนหมายถึง การจัดสภาพของห้องเรียน รวมถึงสภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนเสามารถเรียนรุ้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  
             ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนเพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุตามเป้าหมายของการศึกษา   
นักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร 
         1.การชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้จึงเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนที่น่าสนใจและชักจูงใจให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน                                                                                                                                                                                                                                          2.การจัดการชั้นเรียนด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเป็นการดำเนินการต่างๆเพื่อสร้างบรรยากาศและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการเรียน ตลอดจนเป็นการป้องกันปัญหาด้านพฤติกรรมก่อนที่จะเกิดปัญหา เช่น การจัดที่นั่งของครูและนักเรียน  การจัดตกแต่งห้องเรียน เป็นต้น  
        3. การจัดการชั้นเรียนทางด้านจิตวิทยาหมายถึงการจัดการเกี่ยวกับความรู้สึกเจตคติ พฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมระเบียบวินัยในการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาได้อย่างสูงสุด เช่นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนบทบาทในการเป็นผู้นำของครู เทคนิคและทักษะการสอนของครู การสื่อสารกับนักเรียน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณธรรมจริยธรรม เช่น หลักประชาธิปไตย หลักความยุติธรรม  หลักพรหมวิหาร4  หลักความใกล้ชิด เป็นต้น
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเรา ได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียนและบรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถนำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้สอนกับนักเรียนหรือนักศึกษาและใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
สรุป
     ทุกวิชาชีพย่อมจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพการที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือ  สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก และได้รับการยกย่อง
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด
    ผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
การนำไปประยุกต์ใช้
          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมี กลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ
( มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรสภา ๒๕๔๘ : ๓ )
- ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
- ต้องประพฤติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
- บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหา กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
- เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้

แสดงความคิดเห็น
   การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะจะมีการพัฒนาอาชีพครูให้มีคุณภาพ แต่การเป็นครูต้องเก่งหลายด้าน  ที่สำคัญต้องมีเทคนิดที่ดีในการสอนอยากให้มีการพัฒนาด้านเทคนิดการสอนเยอะๆเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญในอาชีพครู ครูมีความรู้เก่งเป็นสิ่งที่ถูกแล้วแต่เก่งไม่มีเทคนิดการสอนที่ดีเด็กก็ไม่เข้าใจ
การนำไปใช้
1.  เป็นแนวทางในการเตรียมพร้อมตัวเองในการประกอบอาชีพครูให้ตรงตามมาฐานที่กำหนด
2. ทราบว่าอาชีพครูต้องมีความเก่งทุกๆด้าน

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่5

สิ่งที่ได้คือ  ต้นแบบ  ทำให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ..ได้เห็น..ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ 
ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ต้นแบบ  ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ คนดี คนเลว เป็นครูได้ทั้งหมด เพราะเมื่อเห็นคนดี ก็เลียนแบบ เห็นคนเลวก็เลียนแบบ” แต่อยากถามว่าผู้ที่จะแยกแยะดี / เลวเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบ อีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

กิจกรรมที่4

สรุป ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
                                          การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กร
ลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต
วิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้นก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก ปราศจาก Momentum แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียวศรัทธาเหล่านี้มาจากไหน เราจะสามารถพัฒนามันขึ้นมาได้อย่างไร" หากจะกล่าวโดยรวมแล้วศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของการยอมรับ

กิจกรรมที่3

ประวัติผู้นำทางวิชาการ   รับราชการ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง) ตำบลเดิด อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง)
ผลงานทางวิชาการ   ผู้ที่ทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่น ภารกิจของ ผู้บริหารจึงเป็นการส่งเสริมให้ครูทำงานอย่างมีประสิทธิ ภาพโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ บทบาทหน้าที่จึงต้องสวมหมวกสองใบคือบทบาทนักบริหารและบทบาทบริหารงานวิชาการอันเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ภาวะผู้นำทางวิชาการจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียนให้ก้าวสู่ความสำเร็จ พัฒนาครูให้ครบทุกคน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม  ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  เร่งสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนชั้นสูงสุดรักถิ่นฐานบ้านเกิด
เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไรเร่งสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนชั้นสูงสุดรักถิ่นฐานบ้านเกิด ปัจจุบันสภาพโรงเรียนเล็กที่อยู่ใกล้ตัวเมืองประสบปัญหาเด็กย้ายออกไปเรียนในเมืองตามค่านิยมของผู้ปกครอง ทำให้คนในชุมชนขาดความผูกพันกับโรงเรียน ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจพัฒนานักเรียนให้สู้กับในเมืองที่ครูต่อนักเรียนต่อห้องจำนวนมากย่อมไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง หากเรามีเด็กจำนวนน้อยกว่าย่อมมีเวลาที่จะส่งเสริมให้เด็กเกิดความเป็นเลิศได้มากกว่า