วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

ความหมายวัฒนธรรมองค์การ

           วัฒนธรรมองค์การคือ การสร้างของค่านิยมและความเชื่อซึ่งสมาชิกขององค์การหรือหน่วยงานให้ความสนใจของการดำรงอยู่ขององค์การ วัฒนธรรมองค์การแบบไหนที่มีอยู่ในองค์การที่สามารถจะค้นพบได้โดยการเรียนรู้ ตลอดจนรวมถึงตัวสัญลักษณ์และสถานภาพพิเศษของตัวองค์การ ผู้บริหารจักต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของปัจจัยทั้งหมดที่สามารถใช้ในการพัฒนาองค์การ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตั้งองค์การเป็นอย่างมาก
                วัฒนธรรมองค์การที่จะกล่าวถึงเป็นแบบแผนของความเชื่อ ค่านิยม ความคิด และการกระทำซึ่งมีการพัฒนาภายในองค์การและใช้เป็นสิ่งที่ช่วยแนะแนวทางพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การนั้นๆด้วย ถ้าเป็นในกลุ่มธุรกิจแบบนี้หมายถึง วัฒนธรรมบริษัท (Corporate culture) ในแต่ละองค์การจะมีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไปไม่มีทางเหมือนกันได้อย่างสมบูรณ์ ความแตกต่างของวัฒนธรรมองค์การสามารถที่จะมีผลกระทบเป็นอย่างมากกับผลการปฏิบัติงานขององค์การ และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน
วัฒนธรรมองค์การจะถูกพัฒนาขึ้นมาจากหลายแหล่ง เมื่อองค์การใหม่ถูกก่อตั้งขึ้นมา วัฒนธรรมมักจะถูกพัฒนาขึ้นมาที่สะท้อนให้เห็นถึงแรงจูงใจและจินตนาการของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ก่อตั้งมักจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อวัฒนธรรมที่ถูกพัฒนาขึ้น ตัวอย่างเช่น เรย์ ครอค ผู้ก่อตั้งแมคดดนัลด์ ได้ปลูกฝังค่านิยมร่วม คุณภาพ บริการ ความสะอาด และคุณค่า กับพนักงานแมคดดนัลด์ทุกคนไว้อย่างเข้มแข็งที่ยังคงเป็นความเชื่อของบริษัทอยู่ในปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมองค์การได้กลายเป็นคำที่นิยมแพร่หลายของการบริหารในปัจจุบัน เอ็ดการ์ ไชน์ นักวิชาการและที่ปรึกษาได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมองค์การว่า เป็นระบบความเชื่อและค่านิยมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาภายในองค์การและนำทางพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ วัฒนธรรมองค์การจะให้ความหมายและทิศทางที่สำคัญแก่พฤติกรรมประจำวันของสมาชิกภายในองค์การ และเป็นพลังเบื้องหลังที่จะกำหนดพฤติกรรม เสริมแรงความเชื่อร่วมกัน และกระตุ้นให้สมาชิกใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ
วัฒนธรรมองค์การตามความหมายนี้สามารถกลายเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญอย่างหนึ่งได้นั่นคือ ถ้าวัฒนธรรมองค์การองค์การสนับสนุนกลยุทธ์ และถ้าวัฒนธรรมองค์การสอดคล้องกับโอกาศภายในสภาพแวดล้อมขององค์การ
                ณ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด วัฒนธรรมองค์การจะเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญของบริษัทด้วยค่านิยมร่วมที่เข้มแข้งที่มีต่อการคิดค้นสิ่งใหม่ๆวัฒนธรรมจะถ่ายทอดความคาดหวังที่บุคคลจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี สายการบังคับบัญชาจะยึดกยุ่นที่จะสนับสนุนการคิดค้นสิ่งใหม่
ปัจจุบันนักวิชาการเองยังคงไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ว่าจะให้ความหมายของคำว่าวัฒนธรรมองค์การได้อย่างไร จึงจะทำให้เป็นที่ยอมรับและเห็นด้วยกันทุกฝ่าย แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถสรุปของวัฒนธรรมองค์การได้ว่า คือ การดำรงชีวิตในองค์การและวิถีชีวิตโดยรวมของคนในองค์การ ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับเอาไว้ให้พนักงานยึดถือเป็นหลักในการทำงานและการใช้ชีวิตอยู่ในองค์การ
    แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
      
สภาพแวดล้อมภายในองค์การจะมีพลังที่มีอำนาจอย่างหนึ่งคือ วัฒนธรรมองค์การ:ค่านิยามและบรรทัดฐานที่ยึดถือร่วมกันโดยสมาชิกชององค์การที่ได้กลายเป็นรากฐานของระบบการบริหารและวิธีการปฏิบัติของพนักงานและผู้บริหารภายในบริษัท  พลังนี้จะถูกเรียกวัฒนธรรมองค์การ ค่านิยมร่วมของวัฒนธรรมองค์การจะเรียกร้องความสนใจต่อสิ่งที่สำคัญ และระบุแผนของพฤติกรรมที่กลายเป็นบรรทัดฐานนำทางการกระทำสิ่งต่างๆภายในองค์การ
                วัฒนธรรมองค์การจะถูกหยั่งรากลึกในอดีตแต่จะจะถูกกระทบจากปัจจุบันและความคาดหวังในอนาคตแนวความคิดของวัฒนธรรมองค์การจะมีรากฐานมาจากมานุษวิทยา วัฒนธรรม วัฒนธรรมองค์การจะเป็นการสะสมของความเชื่อ ค่านิยม งานพิธี  เรื่องราว  ตำนาน และภาษาพิเศษ ที่กระตุ้นความรู้สึกความผูกพันภายในบรรดาสมาชิกขององค์การ บุคคลบางคนจะเรียกวัฒนธรรมองค์การว่าเป็น กาวทางสังคม ที่ผูกสมาชิกขององค์การเข้าด้วยกัน
 แนวทางพัฒนาองค์การ   
                   
วัฒนธรรมองค์การจะถูกพัฒนาขึ้นมาจากหลายแหล่ง เมื่อองค์การใหม่ถูกก่อตั้งขึ้นมา วัฒนธรรมมักจะถูกพัฒนาขึ้นมาที่สะท้อนให้เห็นถึงแรงจูงใจและจินตนาการของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ก่อตั้งมักจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อวัฒนธรรมที่ถูกพัฒนาขึ้น ตัวอย่างเช่น เรย์ ครอค ผู้ก่อตั้งแมคดดนัลด์ ได้ปลูกฝังค่านิยมร่วม คุณภาพ บริการ ความสะอาด และคุณค่า กับพนักงานแมคดดนัลด์ทุกคนไว้อย่างเข้มแข็งที่ยังคงเป็นความเชื่อของบริษัทอยู่ในปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมองค์การได้กลายเป็นคำที่นิยมแพร่หลายของการบริหารในปัจจุบัน เอ็ดการ์ ไชน์ นักวิชาการและที่ปรึกษาได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมองค์การว่า เป็นระบบความเชื่อและค่านิยมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาภายในองค์การและนำทางพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ วัฒนธรรมองค์การจะให้ความหมายและทิศทางที่สำคัญแก่พฤติกรรมประจำวันของสมาชิกภายในองค์การ และเป็นพลังเบื้องหลังที่จะกำหนดพฤติกรรม เสริมแรงความเชื่อร่วมกัน และกระตุ้นให้สมาชิกใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ
                วัฒนธรรมองค์การตามความหมายนี้สามารถกลายเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญอย่างหนึ่งได้นั่นคือ ถ้าวัฒนธรรมองค์การองค์การสนับสนุนกลยุทธ์ และถ้าวัฒนธรรมองค์การสอดคล้องกับโอกาศภายในสภาพแวดล้อมขององค์การ

กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
   
การกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์ (Formulate Strategic Values) ค่านิยมเชิงกลยุทธ์คือ ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การ ซึ่งเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ที่ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการกลั่นกรองของสิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์กลยุทธ์เพื่อประเมินทางด้านเศรษฐกิจประชากร นโยบายสาธารณะ เทคโนโลยีและสังคม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นตัวกำหนดความต้องการของตลาดที่องค์การสามารถที่จะเผชิญได้พัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรม (Develop Culture Values) คือค่านิยมที่พนักงานต้องการที่จะปฏิบัติเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินตามค่านิยมเชิงกลยุทธ์ได้ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อขององค์การที่ว่า องค์การสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างไร และเมื่อใดถ้าองค์การไม่พยายามที่จะพัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรมให้เชื่อมโยงกับการกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์ ก็จะเป็นการจบไปกับความว่างเปล่าของกลุ่มค่านิยม ดังนั้นพนักงานในองค์การจำเป็นที่จะต้องมีค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมในการทำงานที่มีความมั่นคง เพื่อเป็นการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนค่านิยม
เชิงกลยุทธ์ขององค์การ เช่นการผลิตที่ระดับต้นทุนที่ต่ำ การบริหารลูกค้า หรือวัฒนธรรมทางเทคโนโลยี
      
  
  แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้         
องค์กรเทคโนโลยีการศึกษาถือเป็นองค์กรรูปแบบหนึ่งที่มีการนำรูปแบบวัฒนธรรม
องค์การมาใช้ในหน่วยงาน ทำให้องค์กรเทคโนโลยีการศึกษามีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
ไม่แตกต่างจากองค์กรอื่น  ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมที่เหมาะสมกับองค์เทคโนโลยีการศึกษาก็คือวัฒนธรรมองค์การที่เน้นบทบาท เพราะวัฒนธรรมองค์การนี้ใช้กับราชการหรือหน่วยงานจะเน้นในระเบียบ คำสั่ง กฎระเบียบต่าง ๆ  การเชื่อฟัง ทำตามกฎระเบียบ และคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีความล่าช้าในการปรับเปลี่ยนตัวเอง แล้วก็จะเอาวัฒนธรรมแบบเครือญาติกับวัฒนธรรมแบบราชการมาผสมรวมให้เป็นวัฒนธรรมองค์การเทคโนโลยีได้อีกหนึ่งรูปแบบเพราะถ้าเอาแต่วัฒนธรรมแบบราชการมาอย่างเดียวอาจจะตึงเครียดไปจึงเอาวัฒนธรรมแบบเครือญาติมาด้วยเพราะบุคลากรในหน่วยงานต้องพบปะผู้คนมากอีกอย่างจะต้องทำงานกันเป็นทีมมีอะไรก็ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักกันเหมือนพี่น้อง  บุคลากรที่ทำงานในหน่วยนี้ต้องมีใจรักงานบริการการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ต่อผู้ร่วมและผู้มาขอบริการ  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร
  
ถ้ามีผู้บริหารที่ดีองค์กรเทคโนโลยีการศึกษาก็จะประสิทธิภาพในการทำงาน
วัฒนธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทัศนคติและประสิทธิผลโดยรวมของพนักงาน นอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมก็มีอิทธิพลหรือมีอำนาจเหนือองค์การ ไม่ว่าวัฒนธรรมองค์การนั้นจะอ่อนหรือแข้งแกร่งสักปานใดก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างภายในองค์การนับตั้งแต่การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง การตัดสินใน ตลอดจนการแต่งกาย การกีฬา การทำงาน เป็นต้น
อ้างอิงhttp://images.tidabadbad.multiply.multiplycontent.com

 

กิจกรรมที่ 7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ

  สรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร
        ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              การจัดการชั้นเรียนหมายถึง การจัดสภาพของห้องเรียน รวมถึงสภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนเสามารถเรียนรุ้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  
             ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนเพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุตามเป้าหมายของการศึกษา   
นักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร 
         1.การชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้จึงเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนที่น่าสนใจและชักจูงใจให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน                                                                                                                                                                                                                                          2.การจัดการชั้นเรียนด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเป็นการดำเนินการต่างๆเพื่อสร้างบรรยากาศและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการเรียน ตลอดจนเป็นการป้องกันปัญหาด้านพฤติกรรมก่อนที่จะเกิดปัญหา เช่น การจัดที่นั่งของครูและนักเรียน  การจัดตกแต่งห้องเรียน เป็นต้น  
        3. การจัดการชั้นเรียนทางด้านจิตวิทยาหมายถึงการจัดการเกี่ยวกับความรู้สึกเจตคติ พฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมระเบียบวินัยในการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาได้อย่างสูงสุด เช่นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนบทบาทในการเป็นผู้นำของครู เทคนิคและทักษะการสอนของครู การสื่อสารกับนักเรียน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณธรรมจริยธรรม เช่น หลักประชาธิปไตย หลักความยุติธรรม  หลักพรหมวิหาร4  หลักความใกล้ชิด เป็นต้น
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเรา ได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียนและบรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถนำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้สอนกับนักเรียนหรือนักศึกษาและใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
สรุป
     ทุกวิชาชีพย่อมจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพการที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือ  สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก และได้รับการยกย่อง
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด
    ผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
การนำไปประยุกต์ใช้
          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมี กลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ
( มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรสภา ๒๕๔๘ : ๓ )
- ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
- ต้องประพฤติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
- บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหา กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
- เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้

แสดงความคิดเห็น
   การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะจะมีการพัฒนาอาชีพครูให้มีคุณภาพ แต่การเป็นครูต้องเก่งหลายด้าน  ที่สำคัญต้องมีเทคนิดที่ดีในการสอนอยากให้มีการพัฒนาด้านเทคนิดการสอนเยอะๆเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญในอาชีพครู ครูมีความรู้เก่งเป็นสิ่งที่ถูกแล้วแต่เก่งไม่มีเทคนิดการสอนที่ดีเด็กก็ไม่เข้าใจ
การนำไปใช้
1.  เป็นแนวทางในการเตรียมพร้อมตัวเองในการประกอบอาชีพครูให้ตรงตามมาฐานที่กำหนด
2. ทราบว่าอาชีพครูต้องมีความเก่งทุกๆด้าน

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่5

สิ่งที่ได้คือ  ต้นแบบ  ทำให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ..ได้เห็น..ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ 
ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ต้นแบบ  ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ คนดี คนเลว เป็นครูได้ทั้งหมด เพราะเมื่อเห็นคนดี ก็เลียนแบบ เห็นคนเลวก็เลียนแบบ” แต่อยากถามว่าผู้ที่จะแยกแยะดี / เลวเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบ อีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

กิจกรรมที่4

สรุป ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
                                          การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กร
ลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต
วิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้นก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก ปราศจาก Momentum แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียวศรัทธาเหล่านี้มาจากไหน เราจะสามารถพัฒนามันขึ้นมาได้อย่างไร" หากจะกล่าวโดยรวมแล้วศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของการยอมรับ

กิจกรรมที่3

ประวัติผู้นำทางวิชาการ   รับราชการ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง) ตำบลเดิด อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง)
ผลงานทางวิชาการ   ผู้ที่ทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่น ภารกิจของ ผู้บริหารจึงเป็นการส่งเสริมให้ครูทำงานอย่างมีประสิทธิ ภาพโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ บทบาทหน้าที่จึงต้องสวมหมวกสองใบคือบทบาทนักบริหารและบทบาทบริหารงานวิชาการอันเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ภาวะผู้นำทางวิชาการจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียนให้ก้าวสู่ความสำเร็จ พัฒนาครูให้ครบทุกคน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม  ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  เร่งสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนชั้นสูงสุดรักถิ่นฐานบ้านเกิด
เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไรเร่งสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนชั้นสูงสุดรักถิ่นฐานบ้านเกิด ปัจจุบันสภาพโรงเรียนเล็กที่อยู่ใกล้ตัวเมืองประสบปัญหาเด็กย้ายออกไปเรียนในเมืองตามค่านิยมของผู้ปกครอง ทำให้คนในชุมชนขาดความผูกพันกับโรงเรียน ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจพัฒนานักเรียนให้สู้กับในเมืองที่ครูต่อนักเรียนต่อห้องจำนวนมากย่อมไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง หากเรามีเด็กจำนวนน้อยกว่าย่อมมีเวลาที่จะส่งเสริมให้เด็กเกิดความเป็นเลิศได้มากกว่า

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
นางสาว  กุลธิดา   สุระบำชาตรี
รหัสนักศึกษา   5111116015  โปรแกรม สังคมศึกษา  กลุ่ม01
ชื่อเล่น  ปุ้น
จบจากโรงเรียน  ราชประชานุเคาะห์   19
ที่อยู่  99หมู่ 2ตำบลบ้านนิคม  อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช  80360
สีที่ชอบ  สีชมพู
สัตว์เลี้ยง  กระต่าย
กำลังศึกษา มหาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่2

 สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2533 : 18-19) ได้กล่าวถึงแนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เป็นแนวทาง ในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น 3 กลุ่ม คือ
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
(2) กลุ่มเกสตัลท์หรือทฤษฎีสนามหรือทฤษฎีพุทธินิยม (Gestalt, Field or Cognitive
theories)
เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมี
ความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของ
พฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความ
สามารถในการสร้างความสัมพันธ์
(3) กลุ่มจิตวิทยาทางสังคมหรือการเรียนรู้ทางสังคม (Social psychology or Social
learning theory)
เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ
และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1

ความหมายการบริหารจัดการในชั้นเรียนการสร้างบรรยากาศในการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ คือ ต้องทำให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้น (active learning) และตระหนักว่าตนกำลังเรียนอะไรอยู่ ครูจะสามารถสร้างบรรยากาศแบบนี้ได้จาก การจัดชั้นเรียน การสร้างแบบเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน และการหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พูดถึงสิ่งที่เรียนออกมาเพื่อจะได้รับรู้ว่าตัวเขา
เองกำลังทำอะไรอยู่ (self - awareness) เช่น การเขียนไดอารี่ที่พูดถึงการเรียน ปัญหาที่พบ และสิ่งที่ได้เรียนการจัดชั้นเรียน ควรจะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานกลุ่มเพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกับเพื่อน การสร้างแบบเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน ควรจะให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรม เลือกการบ้าน และเลือกกลุ่มคนที่
เขาอยากจะทำกิจกรรมในห้องเรียนด้วย ผู้เรียนควรจะรู้ว่าเขาถูกคาดหวังให้เรียนอะไรในวิชานั้น เพื่อจะได้รู้ว่าวิธีการเรียนที่เขาเรียนเหมาะสมหรือไม่ และเขาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ ครูควรจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนว่า เด็กในชั้นมีความสามารถ ความชอบ และมีแรงจูงใจในการเรียนแตกต่างกัน ถ้าหากกำหนดให้เด็กทำงานแบบเดียว
กัน คนทุกคนจะเกิดการเรียนรู้ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ครูควรจะให้ความสำคัญกับการสอนให้เด็กตระหนักว่าเขากำลังเรียนอะไร และเรียนอย่างไร  ไดอารี่เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบันทึกกระบวนการเรียน งานที่เขาทำ และยังใช้เป็นสื่อที่ครูกับเด็กจะติดต่อสื่อสาร
กันโดยไม่จำเป็นต้องนำเรื่องนั้นเข้ามาพูดในห้องเรียน การเขียนไดอารีจะช่วยให้ผู้เรียนได้คิดย้อนไปถึงกระบวนการที่เขาเรียนรู้แล้วเขียนบรรยายออกมา (reflective) การที่เขาต้องเขียนบรรยายถึงวิธีการและขั้นตอนในการเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึงกระบวนการการเรียนรู้ ข้อดีและข้อด้อยของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เขารู้ตัวและปรับปรุงตัวได้ และยังทำให้เขารู้ว่ากำลังเรียนอะไร ในการสอนภาษาอังกฤษ การเขียนไดอารี่เป็นภาษาอังกฤษยังถือเป็นการฝึกการเขียนโดยครูไม่ต้องบังคับหัวข้อ การฝึกนี้จะช่วยให้ผู้เรียนใช้ภาษาได้ดีขึ้น